ข่าวประชาสัมพันธ์

ประกาศเจตจำนง

14/09/2560

 
 
 
 
ประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลเขื่อน

เรื่อง  เจตจำนงการบริหารงานด้วยความสุจริต  เสริมสร้างคุณธรรม และความโปร่งในในการบริหารราชการ

…………………….…………………..……………

                   ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พ.ศ. 2560 , พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร พ.ศ. 2540 พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546  ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตระยะที่ 3  (พ.ศ. 2560-2564) และนโยบายของรัฐบาล ข้อที่ 10 การส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาลและการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ กำหนดให้ปลูกฝังค่านิยมคุณธรรม จริยธรรมและจิตสำนึกในการรักษาศักดิ์ศรีความเป็นข้าราชการและความซื่อสัตย์สุจริต  ควบคู่กับการบริหารจัดการภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันและปราบปรามทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกระดับและตอบสนองความต้องการพร้อมอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในระบบราชการนั้น
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่  11  ตุลาคม  2559  เห็นชอบยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่  3 (พ.ศ.2560-2564)  และให้หน่วยงานภาครัฐแปลงแนวทางและมาตรการตามยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติ โดยกำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการ 4 ปี และแผนปฏิบัติราชการประจำปี  ซึ่งยุทธศาสตร์ชาติฯ กำหนดยุทธศาสตร์ที่ 2 “ยกระดับเจตจำนงทางการเมืองในการต่อต้านการทุจริต”
ดังนั้น  เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ฯ ให้เกิดเป็นรูปธรรม  องค์การบริหารส่วนตำบลเขื่อน จึงแสดงเจตจำนงในการต่อต้านการทุจริต เพื่อกำหนดให้จัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 ปี (พ.ศ.2561 – 2564) ใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริตขององค์การบริหารส่วนตำบลจะกงต่อไปและเพื่อให้เกิดการบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบอย่างเข้มแข็ง เพื่อให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีมาตรฐานความโปร่งใสเทียบเท่าสากล ภายใต้วิสัยทัศน์ : ประเทศไทยใสสะอาด  ไทยทั้งชาติต้านทุจริต (Zero Tolerance & Clean Thailand)ประเทศไทยในระยะ ๕ ปีข้างหน้า จะมุ่งสู่การเป็นประเทศที่มีมาตรฐานทางคุณธรรมจริยธรรม  เป็นสังคมมิติใหม่ที่ประชาชนไม่เพิกเฉยต่อการทุจริตทุกรูปแบบ  โดยได้รับความร่วมมือจากฝ่ายการเมือง  หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนประชาชนในการพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของชาติและประชาชน  เพื่อให้ประเทศไทยมีศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิในด้านความโปร่งใสทัดเทียมนานาอารยประเทศ       
                   องค์การบริหารส่วนตำบลเขื่อน  ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้  และเห็นว่าจะต้องมีการแปลงนโยบายข้างต้นของรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง  และเพื่อดำเนินการดังกล่าว องค์การบริหารส่วนตำบลเขื่อน จึงประกาศเจตจำนงการบริหารงานความสุจริต เพื่อให้บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลเขื่อนยึดถือปฏิบัติ โดยมีองค์ประกอบดังนี้
          1.ความโปร่งใส (Ttansparency) หมายถึงการปฏิบัติราชการตามภารกิจของหน่วยงานที่มี
ความโปร่งใส การมีระบบบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หรือหลักธรรมมาภิบาล(Good Governance) ด้วยความเป็น
ธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ ดังนี้
 
 
/ 1.1.  การให้และ...
 
2.
 
  1. การให้และเปิดเผยข้อมูลต่าง ๆ ของหน่วยงานต้องชัดเจน ถูกต้อง และครบถ้วน
รวมถึงการให้ประชาชนหรือผู้มีส่วนได้เสียสามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ของหน่วยงานได้โดยสะดวกและรวดเร็ว
                   1.2การดำเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างต้องดำเนินการและส่งเสริมให้เกิดความโปร่งในในทุกขั้นตอนตามที่กฎหมายกำหนด
                   1.3การเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนในการดำเนินการในขั้นตอนต่าง ๆของหน่วยงาน ตั้งแต่แสดงความคิดเห็น ร่วมวางแผนและจัดทำแผนงาน ร่วมดำเนินการและร่วมติดตามตรวจสอบการดำเนินการงานของหน่วยงาน
                   1.4 การดำเนินการ/การจัดการกับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่อันไม่โปร่งในหรือทุจริตต่อหน้าที่
           2.ความพร้อมรับผิด(Accountability)  หมายถึงการปฏิบัติราชการตามภารกิจของเจ้าหน้าที่มีความรับผิดชอบ ตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง โดยคำนึงถึงความสำเร็จของงาน มีความพร้อมในการปฏิบัติงานตามภาระหน้าที่ และพฤติกรรมในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยมุ่งผลสำเร็จของงานดังนี้
                   2.1 ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานต้องมีพฤติกรรมและทัศคติที่แสดงถึงการปฏิบัติงานตามหน้าที่อย่างเต็มใจและเต็มประสิทธิภาพ
                   2.2 เจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติงานในทุกขั้นตอนให้ถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับต่าง ๆอย่างครบถ้วนและเคร่งครัด กล้าหาญที่จะรับผิดชอบในผลการปฏิบัติงานของตนเอง
                   2.3 การกำหนดทิศทางและนโยบายของผู้บริหารหน่วยงานที่จะต้องมีเจตจำนงในการบริหารงานอย่างซื่อสัตย์สุจริต และพร้อมรับผิดเมื่อเกิดความผิดพลาด เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่สังคมว่าการขับเคลื่อนหน่วยงานจะเป็นไปอย่างมีคุณธรรมและธรรมาภิบาล
           3.ความปลอดจาการทุจริตในการปฏิบัติงาน (Corruption-Free) หมายถึง พฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีการดำเนินการโยเป็นธรรมและโปร่งใน เป็นไปตามกระบวนการมาตรฐานในระหว่างการส่งมอบบริการหรือขั้นตอนการให้บริการ ไม่เลือกปฏิบัติเมื่อได้รับการเสนอเงื่อนไขพิเศษหรือจูงใจเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ส่วนตน กลุ่ม หรือพวกพ้อง หากเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานมีพฤติกรรมเหล่านี้มากเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานปฏิบัติงานตามกระบวนมาตรฐานหรือขั้นตอนการให้บริการด้วยความเป็นธรรมแล้ว ก็ส่งผลให้หน่วยงานมีความปลอดภัยจาการทุจริตในการปฏิบัติงาน ดังนี้
                   3.1 สอดส่องและป้องกันการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานมิให้มีพฤติกรรมที่เข้าข่ายการทุจริตต่อหน้าที่ เช่น การเรียกรับเงิน สิ่งของ หรือผลประโยชน์ใด ๆ จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อแลกรับการปฏิบัติงานของตนเอง หรือการปฏิบัติงาน/ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่/การใช้ตำแหน่งหน้าที่ของตนเองอย่างเป็นไม่เป็นธรรมเพื่อเอื้อประโยชน์แต่ตนเอง พวกพ้องของตน หรือผู้อื่นผู้ใด
                   3.2 สอดส่องและป้องกันการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริหารมิให้มีพฤติกรรมที่เข้าข่ายการทุจริตในเชิงนโยบาย ซึ่งมีลักษณะเป็นการทุจริตจากความสัมพันธ์เกื้อหนุนกันระหว่างผู้บริหารของหน่วยงานกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เป็นหน่วยธุรกิจเอกชน เพื่อเอื้อผลประโยชน์ในสัญญาโครงการหรือสัมปทานของหน่วยงานแลกเปลี่ยนกับการกำหนดนโยบายหรือการอนุมัติใด ๆ ของผู้บริหารของหน่วยงาน
 
/4.วัฒนธรรม..
 
 
 
 
3.
           4.วัฒนธรรมคุณธรรมในองค์กร(Integrity Culture)  หมายถึง หน่วยงานภาครัฐมีการปฏิบัติราชการตามภารกิจของหน่วยงานที่ยึดหลักคุณธรรมจริยธรรมตามประมวลจริยธรรม จรรยาวิชาชีพ และมีระบบการต่อต้านการทุริจอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
                   4.1การปลูกฝัง สั่งสอน หรือถ่ายทอดแก่กันของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน เพื่อให้มีพฤติกรรมและทัศนคติที่ดีในการปฏิบัติงาน จนกลายเป็นแนวทางปฏิบัติประจำหรือวัฒนธรรมที่ดีของหน่วยงาน เป็นการกล่อเกลาทางสังคม (Socailzation) อันจะทำให้เกิดความอายหรือความกลัวที่จะกระทำการทุจริต
                   4.2การปลูกฝังและสร้างให้เกิดวัฒนธรรมทางความคิดแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวมให้ได้ ซึ่งถือเป็นการป้องกันการทุจริตตั้งแต่รากฐานของพฤติกรรมการทุจริต
                   4.3กำหนดและจัดทำแผนการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในหน่วยงาน
                   4.4การมีกระบวนการตรวจสอบถ่วงดุลภายในที่เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ ซึงจะทำให้เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานเห็นความสำคัญและเกิดความตระหนักถึงผลของการทุจริต จนก่อให้เกิดความเป็นวัฒนธรรมในการร่วมต่อต้นการทุจริตได้
           5.คุณธรรมการทำงานในหน่วยงาน (Work Integrity) หมายถึง ระบบการบริหารงานของหน่วยงานที่มีการบริหารจัดการที่ดียึดระบบคุณธรรมความโปร่งใน ในการปฏิบัติงาน มุ่งเน้นผลประโยชน์ส่วนรวม มีระบบการบริหารงานภายในหน่วยงาน ในเรื่องของการบริหารงานบุคคล (Personnel Management) ยึดหลักการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่ การสรรหา การพัฒนาและการรักษา ทรัพยากรมนุษย์ การบริหารงบประมาณ (Budget Execution) ยึดหลักการคำนึงถึงความรู้ ความสามารถ และมาตรฐานการปฏิบัติงานดังนี้
                   5.1การให้ความสำคัญกับการปฏิบัติงาน โดยให้มีคู่มือหรือมาตรฐานการปฏิบัติงานที่ชัดเจน
                   5.2การปฏิบัติงานตามคู่มือหรือมาตรฐานการปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัดอยู่เสมอ และจะต้องเป็นการปฏิบัติงานอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมกัน
                   5.3การมีคุณธรรมในการบริหารงานบุคคลภายในหน่วยงาน ทั้งในด้านการบริการทรัพยากรบุคคลเช่น การบรรจุ แต่งตั้งโยกย้าย พิจารณาความดีความชอบ เป็นต้น กระบวนการสร้างแรงจูงใจและความก้าวหน้าในสายงาน และในด้านการพัฒนาสมรรถนะเจ้าหน้าที่
                   5.4 การมีคุณธรรมในการบริหารงบประมาณ การใช้จ่ายเงินงบประมาณจะต้องเป็นไปอย่างโปร่งใสและจะต้องพิจารณาใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นต่อการดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงานอย่างคุ้มค่ามากที่สุด
                   5.5การมีคุณธรรมในการสั่งงานหรือมอบหมายงาน มีความเป็นธรรมแก่ผู้รับมอบหมายงานทุกคนอย่างเท่าเทียม มีการสื่อสารและเอาใจใส่ ติดตามในการมอบหมายงานที่ได้มอบหมายไป ตลอดจนรับผิดขอบในผลของงานที่ได้รับมอบไปด้วย
                   5.6การให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยและส่งเสริมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่
ในหน่วยงาน
                
                    จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน
 
ประกาศ  ณ  วันที่  22   มีนาคม  พ.ศ. ๒๕60
 
 
(นางสาวอาภาพร  สร้อยพะริกา)
รองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล รักษาราชการแทน
ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ปฏิบัติหน้าที่
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขื่อน